Category: ลงทุน

  • เก็บเงินง่ายลูกได้แน่นอน ด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน

    เก็บเงินง่ายลูกได้แน่นอน ด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน

    เก็บเงินง่าย ลูกได้แน่นอนด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน(Unit-linked)(เริ่มต้นเฉลี่ยแค่เดือนละ 1,000 บาท ก็สามารถมีทุนชีวิตสู๊งงงงได้ถึง 1 ล้านบาท!!) หนึ่งในความกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ นั่นก็คือ การเตรียมความพร้อมในเรื่องของ เงินเก็บให้กับลูกน้อยของตัวเองยิ่งแนวโน้มค่าครองชีพและค่าเทอมที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนกังวลใจมากยิ่งขึ้นว่าถ้าหากวันนึงเราไม่อยู่แล้วใครจะมาคอยเก็บเงินส่งเจ้าตัวเล็กให้ถึงฝั่ง วันนี้เมย์อยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยแก้ความกังวลใจนี้ให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้นั่นก็คือ ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ Unit-Linked ค่า จุดเด่นที่แตกต่างของ Unit-Linked คือการให้ทุนชีวิตที่สู๊งงงงงงงงงง แบบที่การฝากธนาคาร ซื้อหุ้น ซื้อกองทุนรวมให้ไม่ได้พูดง่ายๆ คือ ถ้าวันใดวันหนึ่ง เราไม่สามารถอยู่ดูแลลูกได้แต่เรามั่นใจได้เลยว่า ลูกจะมีทุนชีวิตก้อนใหญ่ที่เราเตรียมไว้ให้อย่างแน่นอน!! และด้วยความที่ Unit-Linked แบ่งเบี้ยประกันที่เราจ่ายไปลงทุนในกองทุนรวมถ้าในอีก 20 ปีข้างหน้า สมาชิกทุกคนในครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาลูกน้อยเติบโตจนสามารถดูแลตัวเองได้แล้ว เราก็สามารถ ขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดแล้วรับเงินก้อนใหญ่คืนมาได้เช่นกันค่ะ แผนนี้เหมาะกับใคร คนที่ต้องการเตรียมทุนการศึกษาให้ลูก อยากมั่นใจว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ลูกได้เงินแน่นอน หัวหน้าครอบครัว ที่ถ้าวันนี้เราไม่อยู่คนข้างหลังลำบากแน่ คนที่ชอบความหยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนแผนได้ระหว่างทาง สำหรับใครที่สนใจลองดูแผนที่เมย์จัดทำไว้เป็นไอเดียในการเริ่มต้นเก็บเงินไปพร้อมๆกันเลยค่ะ แผน D เก็บเงินเฉลี่ยเดือนละ 1,000 บาท สร้างทุนชีวิตสูงถึง 1 ล้านบาท ครบ 20 ปีไม่บ๊ายบาย สามารถขายหน่วยลงทุนคืนได้เงินประมาณ…

  • ลดหย่อนภาษีด้วยประกันบำนาญ ดีมั้ย

    ลดหย่อนภาษีด้วยประกันบำนาญ ดีมั้ย

    เมื่อพูดถึงประกันบำนาญ หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นชินเท่าประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพถ้าจะให้อธิบายง่ายๆว่าประกันบำนาญคืออะไร ให้คิดภาพว่า คือ ประกันรูปแบบหนึ่งที่การันตีการจ่ายเงินก้อนให้กับเราไปเรื่อยๆหลังจากที่เราเกษียณอายุตามระยะเวลาที่กำหนด จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ซึ่งเงินที่เค้าเอามาจ่ายให้เราเนี่ย ก็คือเงินที่เราทยอยออมกับบริษัทไปก่อนหน้านี้นั่นหล่ะแต่จะมีผลตอบแทนส่วนเพิ่มมาให้ด้วย  จุดเด่นของประกันบำนาญ ที่แตกต่างจากการฝากธนาคาร คือ เอามาลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15%ของรายได้และไม่เกิน 200,000 บาท ที่สำคัญคือเมื่อเอาไปรวมกับ SSF, RMF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท นอกจากนี้ ประกันบำนาญยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยสร้างวินัยในการออมให้เราได้อย่างดี เพราะเราต้องส่งเบี้ยต่อเนื่อง(บังคับเก็บเงินค้าบ จะวอกแวกไป F ของนู่นนี่ก็อาจจะต้องคิดหนักนิดนึง) ส่งทุกปีจนกว่าจะถึงเวลาที่บริษัทจะจ่ายเงินคืน ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มคืนเงินตอนเราเกษียณคือช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนน่าจะเริ่มสนใจอยากซื้อประกันบำนาญกันบ้างแล้ว แต่อยากบอกเพิ่มเติมว่าประกันบำนาญไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะถ้านำผลตอบแทนไปเทียบกับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีตัวอื่นๆอย่างกองทุนรวมส่งเสริมการออม(SSF) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) ที่ลงทุนในตราสารทุนนั้น SSF, RMFก็มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันบำนาญ เพราะความเสี่ยงที่สูงกว่าย่อมมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นเป็นธรรมดาถูกม๊า (High Risk, High Expected Return)  ดังนั้น ถ้าเราเป็นคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ การซื้อประกันบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษีแบบเต็มสิทธิ อาจจะไม่ตอบโจทย์เราสักเท่าไหร่เพราะทำให้เราเสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว แต่สำหรับใครที่รับความเสี่ยงได้น้อยหรือเหลือระยะเวลาในการลงทุนไม่มากประกันบำนาญก็จะตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านี้ได้ดี เพราะการันตีเงินที่ได้รับ มั่นใจว่าแก่ไปมีเงินใช้อย่างแน่นอนค่ะ  สำหรับใครที่สนใจประกันบำนาญเมย์อยากพาไปรู้จักกับประกันบำนาญที่ใช้ลดหย่อนภาษี 200,000…

  • ชำแหละ!! ยูนิตลิงค์ดีจริงหรอ

    ชำแหละ!! ยูนิตลิงค์ดีจริงหรอ

    ยูนิตลิงค์ดีจริงหรอ ยูนิตลิงค์เหมาะกับใคร

  • ทำความรู้จักกับ UNIT-LINKED

    ทำความรู้จักกับ UNIT-LINKED

    Unit-Linked คืออะไร นาทีนี้ถ้าพูดถึง ยูนิตลิงค์(Unit-Linked) เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง แต่อาจมีเพียงไม่กี่คนที่เข้าใจอย่างแท้จริงว่ายูนิตลิงค์คืออะไร วันนี้แอดมีคำตอบแบบเข้าใจง่ายๆมาฝากกันค่ะ ยูนิตลิงค์ เป็นประกันชีวิตรูปแบบใหม่ที่ให้ความคุ้มครองชีวิตสูงกว่าประกันชีวิตแบบดั้งเดิม มีชื่อเรียกแบบทางการๆหน่อยว่า ประกันชีวิตควบการลงทุน ซึ่งเจ้ายูนิตลิงค์นี้จะแตกต่างจากประกันชีวิตแบบเก่าในส่วนของความคุ้มครองชีวิตที่สูงกว่าและยังเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนผ่านกองทุนรวม นั่นเอง มาทำความรู้จักกับโครงสร้างเบี้ยประกันภัยกันก่อน ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับยูนิตลิงค์กันต่อ อยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับภาพใหญ่ของโครงสร้างเบี้ยประกันภัยก่อนค่ะ  แรกเริ่มเดิมทีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบดั้งเดิมนั้น เวลาที่เราจ่ายเบี้ยไปแต่ละปี เบี้ยประกันจะถูกจัดสรรออกเป็น 3 ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท พวกค่าคอมมิชชั่น ค่าบริหารจัดการต่างๆ ค่าการประกันภัย เป็นเงินที่บริษัทนำไปบริหารความเสี่ยงสำหรับการจ่ายเงินคืนให้กับผู้เอาประกันในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต (ค่าความคุ้มครองชีวิต) เงินลงทุน บริษัทเอาไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เป็นทั้งรายได้ให้บริษัทและเป็นเงินคืนให้ผู้เอาประกัน เงินจะถูกจัดสรรไปในข้อ 2 หรือ ข้อ 3 เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแบบประกันที่เราเลือกซื้อ (ถ้าใครอยากรู้ว่าประกันชีวิตมีแบบไหนบ้างตามไปอ่านได้ที่ ประกันชีวิต คำง่ายๆแต่ความหมายสุดลึกล้ำ) ถ้าเราให้น้ำหนักไปที่ความคุ้มครองชีวิตอย่างประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เงินจะถูกจัดสรรไปที่ค่าการประกันเยอะหน่อย สัดส่วนที่เอาไปลงทุนจึงน้อยลงเลยทำให้ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ให้ผลตอบแทนที่ไม่สูงนักเมื่อครบกำหนดสัญญา ในทางกลับกัน สำหรับประกันแบบสะสมทรัพย์ เงินจะถูกจัดสรรไปที่ส่วนของเงินลงทุนเยอะหน่อย ทำให้ทุนชีวิตที่เรามีจากประกันแบบสะสมทรัพย์นั้นไม่สูงเท่าทุนชีวิตจากประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แต่ข้อดีคือประกันแบบสะสมทรัพย์นั้นจะมีผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดสัญญามากขึ้นแทน สาเหตุที่ผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดสัญญาจากประกันชีวิตแบบต่างๆไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวอื่นๆ เพราะบริษัทประกันถูกกำหนดให้ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับภาระผูกพันที่มีอยู่ จึงไม่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้  แต่เราไม่สามารถเปรียบเทียบแค่เรื่องของผลตอบแทนได้เพียงอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละตัวช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่แตกต่างกัน ต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของประกันชีวิตไม่ใช่ผลตอบแทนแต่มันคือการสร้างความคุ้มครองชีวิตให้กับคนข้างหลัง…

  • สร้างกระแสเงินสดที่แน่นอนหลังเกษียณด้วยประกันบำนาญ

    สร้างกระแสเงินสดที่แน่นอนหลังเกษียณด้วยประกันบำนาญ

    เก็บเงินในวันนี้ เพื่อให้มีเงินใช้ทุกๆปี(หลังเกษียณ)ในวันหน้า คือ รูปแบบการทำงานของเครื่องมือทางการเงินที่เรียกว่า “ประกันบำนาญ” คนส่วนใหญ่เวลาเงินเดือนออกมักจะพบกับ เรื่องบังเอิญ อยู่เสมอ บังเอิญ Iphone รุ่นใหม่ออก บังเอิญโรงแรมจัดโปรโมชั่นลดราคา บังเอิญว่าแฟนอยากกินโอมากาเซะ (นั่น!!) สิ่งเหล่านี้ทำให้เงินของพวกเขาถูกดึงออกจากกระเป๋าไปโดยไม่รู้ตัว เปิดแอปดูเงินในบัญชีอีกที เงินที่มีก็เหลือไม่พอสำหรับการเก็บออม อันที่จริง ถ้าลองมาคิดดูดีๆ จะพบว่าเงินออมของเราในวันนี้ มันคือเงินที่เป็นค่าใช้จ่ายของเราในอนาคต การเก็บเงินก็เหมือนกันการหย่อนเมล็ดพันธุ์ลงไปในดิน เพื่อรอที่จะเก็บกินในวันข้างหน้า แต่ถ้าเราไม่เริ่มปลูกตั้งแต่เนิ่นๆหรือไม่เริ่มเลย ผลผลิตก็อาจจะโตไม่ทันในวันที่เราต้องการ หรือโชคร้ายไปกว่านั้นอาจจะมีแค่ผืนดินแห้งๆไม่มีดอกผลใดๆก็เป็นได้ แล้วประกันบำนาญมันคืออะไรหล่ะ คิดภาพตามง่ายๆ การเก็บเงินกับประกันบำนาญนั้น เหมือนกับการที่เราแบ่งเงินส่วนหนึ่งที่ได้จากการทำงาน เอามาหยอดเงินใส่กระปุกหมูทุกๆปี ปีละเท่าๆกัน โดยมีเงื่อนไขสำคัญ คือ เราไม่สามารถทุบเจ้ากระปุกหมูเพื่อเอาเงินออกมาใช้ได้จนกว่าเราจะเกษียณ เมื่อถึงปีที่เราเกษียณ เจ้ากระปุกหมูจะทำหน้าที่เบ่งเงินออกมาให้เราใช้ทุกปี ในจำนวนที่เท่าๆกัน จบสิ้นปีใช้เงินก้อนนี้จนหมด ปีต่อไปก็จะมีเงินก้อนใหม่ออกมาให้เราใช้ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะครบกำหนดอายุกรมธรรม์(ส่วนใหญ่ครบตอนอายุ 85 ปีขึ้นไป) แต่ถ้าเกิดโชคร้ายเสียชีวิตไปก่อน เงินที่เหลือก็จะถูกส่งต่อเป็นมรดกให้กับลูกหลานแทน ความเสี่ยงต่ำได้เงินคืนในจำนวนที่แน่นอน เป็นที่รู้กันว่าการเก็บเงินด้วยประกันบำนาญนั้น ความเสี่ยงอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่น่าแปลกใจว่าผลตอบแทนที่ได้รับก็จะน้อยตามไปด้วย อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะเกิดคำถามว่า เอาเงินไปลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวมไม่ดีกว่าหรอ ซึ่งการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงนั้นผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับย่อมสูงกว่าอย่างแน่นอน แต่อย่าลืมว่า High Risk…

  • หาค่า NPV ง่ายๆด้วยตัวเอง

    หาค่า NPV ง่ายๆด้วยตัวเอง

    NPV คืออะไร Net Present Value (NPV) หรือ มูลค่า-ปัจจุบัน-สุทธิ (แปลตรงตัวไปมั้ย 5555) พูดแบบภาษาเข้าใจง่ายๆหน่อย มันคือ ผลตอบแทนแบบสุทธิ(Net) ที่เราคิดว่าจะได้รับจากการลงทุนในโครงการอะไรสักอย่าง  โดยทั่วไป เวลาที่เราอยากรู้ว่าธุรกิจได้กำไรหรือขาดทุนนั้น สามารถคิดแบบง่ายๆ ด้วยการเอา รายได้ ลบ ต้นทุน ออกมาเป็น กำไร/ขาดทุน  การหาค่า NPV ก็ใช้หลักการคล้ายๆกัน เพียงแต่มันมีเรื่องของมูลค่าของเงินตามเวลา(Time Value Of Money) เข้ามาเกี่ยวข้อง เนื่องจากมูลค่าของเงินในวันนี้ กับเงินในอนาคตมันไม่เท่ากัน ตัวอย่างที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ คือ ถ้าให้เลือกระหว่าง รับเงิน 1,000 บาทในวันนี้ กับ รับเงิน 1,000 บาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า เราจะเลือกรับเงินตอนไหน  คนส่วนใหญ่ยังไงก็เลือกรับเงินในวันนี้อยู่แล้ว เพราะเมื่อได้รับเงิน 1,000 บาทมา เราก็จะพยายามหาหนทางทำให้เงินมันโต(ให้เงินทำงาน ว่าซั่นนนน) ง่ายที่สุดคือเอาไปฝากธนาคารกินดอกเบี้ย ผ่านไป…