Category: Money

  • 5 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับ Easy E-Receipt

    5 เรื่องที่คนมักเข้าใจผิด เกี่ยวกับ Easy E-Receipt

    เริ่มไปแล้วสำหรับ Easy E-Receipt โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในช่วงวันที่ 1 ม.ค. 67 ถึง 15 ก.พ. 67 ซึ่งยังมีบางเรื่องที่คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีในโครงการนี้ มีอะไรบ้างแล้วจริงๆต้องใช้สิทธิยังไง ไปดูกันเลยค่า  1.ใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีที่เป็นไฟล์ PDF คือ E-Receipt ที่เอามาใช้ลดหย่อนภาษีได้ทั้งหมด (ผิด) จริงๆแล้วต้องเป็นใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีที่ออกจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็คทรอนิกส์(e-Tax Invoice) สำหรับร้านค้าไหนที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติ e-Tax Invoice & e-Receipt / e-Tax Invoice by Email จากกรมสรรพากรแล้วออกใบเสร็จ/ใบกำกับภาษีแบบกระดาษมา Scan เป็น File PDF แบบนี้ไม่สามารถเอามาใช้ในการลดหย่อนภาษีได้ค่ะ 2.ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท คือ ได้เงินคืนภาษีสูงสุด 50,000 บาท (ผิด) ใบเสร็จเหล่านี้เป็นยอดใช้จ่ายในการนำไป “ลดหย่อนภาษี” จากรายได้ทั้งปีของผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งแต่ละคนก็จะได้รับเงินคืนภาษีไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับฐานภาษีของตัวเอง เช่น ถ้าฐานภาษีอยู่ที่ 5% ซื้อสินค้าและบริการเต็มสิทธิ…

  • สรุป 20 ไอเดียการวางแผนการเงิน จากพรี่หนอมTAXBugnoms
  • 8 ข้อสงสัย สำหรับคนเตรียมสอบ CFP Module 2

    8 ข้อสงสัย สำหรับคนเตรียมสอบ CFP Module 2

    สวัสดีค่าทุกคน วันอาทิตย์ที่ผ่านมาเพิ่งไปสอบ CFP Module2 เรื่องวางแผนการลงทุนมาสดๆร้อนๆ  วันนี้เลยอยากมาเล่าประสบการณ์ผ่าน Q&A ในคำถามที่คิดว่าหลายๆคนน่าจะอยากรู้ เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับใครที่กำลังเตรียมตัวสอบอยู่ค่ะ Q1 : เตรียมตัวยังไงบ้าง A1 : เนื่องจากเคยสอบผ่าน IC Plain และได้รับความเห็นชอบเป็น ผู้แนะนำการลงทุนตราสารทั่วไป (IC Plain) มาแล้ว เลยใช้สิทธิขอเทียบเคียงความรู้พื้นฐานไม่อบรมเก็บชั่วโมงใน Module 2 แต่มีการลงอบรมแบบติวก่อนสอบ 2 วันกับทาง CMSK ค่ะ  ด้วยความที่เวลาติวกับทาง CMSK มีแค่ 2 วัน เมย์เลยอ่านเนื้อหาล่วงหน้าเพื่อให้เห็นภาพรวมของบทเรียน ตรงไหนที่ไม่เข้าใจ ก็โน้ตไว้เพื่อถามอาจารย์ในคลาส หลังจากที่เรียนกับทาง CMSK จบแล้วก็มาอ่านทวนและทำสรุปเพิ่มเติม สำหรับเมย์การเขียนสรุปทำให้เข้าใจและจำเนื้อหาได้ดีขึ้น ทำสรุปเสร็จแล้วก็ไปลองทำข้อสอบจำลองกันเลยยย ผลของการลองทำข้อสอบคือ ไม่ผ่าน!! แต่ถือว่าเป็นเรื่องที่ดีเพราะเราจะได้รู้ว่ายังมีตรงไหนที่ยังไม่เข้าใจก็ไปอ่านทวนเพิ่มซะ ซึ่งเมย์ใช้เวลาในการทบทวนรวมถึงท่องสูตรแบบจริงๆจังๆประมาณ 1 อาทิตย์ก่อนถึงวันสอบค่า Q2 : เนื้อหาที่สอบเกี่ยวกับอะไรบ้าง A2 : เนื้อหาหลักๆจะเกี่ยวข้องกับแนวคิดในการลงทุนและการวางแผนการลงทุน มีทั้งหลักทรัพย์เดียวและกลุ่มหลักทรัพย์ ข้อสอบจะมีด้วยกันทั้งหมด…

  • เก็บเงินง่ายลูกได้แน่นอน ด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน

    เก็บเงินง่ายลูกได้แน่นอน ด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน

    เก็บเงินง่าย ลูกได้แน่นอนด้วยประกันชีวิตควบการลงทุน(Unit-linked)(เริ่มต้นเฉลี่ยแค่เดือนละ 1,000 บาท ก็สามารถมีทุนชีวิตสู๊งงงงได้ถึง 1 ล้านบาท!!) หนึ่งในความกังวลใจของคุณพ่อคุณแม่มือใหม่ นั่นก็คือ การเตรียมความพร้อมในเรื่องของ เงินเก็บให้กับลูกน้อยของตัวเองยิ่งแนวโน้มค่าครองชีพและค่าเทอมที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องยิ่งทำให้คุณพ่อคุณแม่หลายๆคนกังวลใจมากยิ่งขึ้นว่าถ้าหากวันนึงเราไม่อยู่แล้วใครจะมาคอยเก็บเงินส่งเจ้าตัวเล็กให้ถึงฝั่ง วันนี้เมย์อยากแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกับ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยแก้ความกังวลใจนี้ให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้นั่นก็คือ ประกันชีวิตควบการลงทุน หรือ Unit-Linked ค่า จุดเด่นที่แตกต่างของ Unit-Linked คือการให้ทุนชีวิตที่สู๊งงงงงงงงงง แบบที่การฝากธนาคาร ซื้อหุ้น ซื้อกองทุนรวมให้ไม่ได้พูดง่ายๆ คือ ถ้าวันใดวันหนึ่ง เราไม่สามารถอยู่ดูแลลูกได้แต่เรามั่นใจได้เลยว่า ลูกจะมีทุนชีวิตก้อนใหญ่ที่เราเตรียมไว้ให้อย่างแน่นอน!! และด้วยความที่ Unit-Linked แบ่งเบี้ยประกันที่เราจ่ายไปลงทุนในกองทุนรวมถ้าในอีก 20 ปีข้างหน้า สมาชิกทุกคนในครอบครัวได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตาลูกน้อยเติบโตจนสามารถดูแลตัวเองได้แล้ว เราก็สามารถ ขายคืนหน่วยลงทุนทั้งหมดแล้วรับเงินก้อนใหญ่คืนมาได้เช่นกันค่ะ แผนนี้เหมาะกับใคร คนที่ต้องการเตรียมทุนการศึกษาให้ลูก อยากมั่นใจว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ลูกได้เงินแน่นอน หัวหน้าครอบครัว ที่ถ้าวันนี้เราไม่อยู่คนข้างหลังลำบากแน่ คนที่ชอบความหยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนแผนได้ระหว่างทาง สำหรับใครที่สนใจลองดูแผนที่เมย์จัดทำไว้เป็นไอเดียในการเริ่มต้นเก็บเงินไปพร้อมๆกันเลยค่ะ แผน D เก็บเงินเฉลี่ยเดือนละ 1,000 บาท สร้างทุนชีวิตสูงถึง 1 ล้านบาท ครบ 20 ปีไม่บ๊ายบาย สามารถขายหน่วยลงทุนคืนได้เงินประมาณ…

  • ลดหย่อนภาษีด้วยประกันบำนาญ ดีมั้ย

    ลดหย่อนภาษีด้วยประกันบำนาญ ดีมั้ย

    เมื่อพูดถึงประกันบำนาญ หลายคนอาจจะยังไม่คุ้นชินเท่าประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพถ้าจะให้อธิบายง่ายๆว่าประกันบำนาญคืออะไร ให้คิดภาพว่า คือ ประกันรูปแบบหนึ่งที่การันตีการจ่ายเงินก้อนให้กับเราไปเรื่อยๆหลังจากที่เราเกษียณอายุตามระยะเวลาที่กำหนด จ่ายเป็นรายเดือนหรือรายปีขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท ซึ่งเงินที่เค้าเอามาจ่ายให้เราเนี่ย ก็คือเงินที่เราทยอยออมกับบริษัทไปก่อนหน้านี้นั่นหล่ะแต่จะมีผลตอบแทนส่วนเพิ่มมาให้ด้วย  จุดเด่นของประกันบำนาญ ที่แตกต่างจากการฝากธนาคาร คือ เอามาลดหย่อนภาษีได้ตามจริงสูงสุดไม่เกิน 15%ของรายได้และไม่เกิน 200,000 บาท ที่สำคัญคือเมื่อเอาไปรวมกับ SSF, RMF,กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชนแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท นอกจากนี้ ประกันบำนาญยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยสร้างวินัยในการออมให้เราได้อย่างดี เพราะเราต้องส่งเบี้ยต่อเนื่อง(บังคับเก็บเงินค้าบ จะวอกแวกไป F ของนู่นนี่ก็อาจจะต้องคิดหนักนิดนึง) ส่งทุกปีจนกว่าจะถึงเวลาที่บริษัทจะจ่ายเงินคืน ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มคืนเงินตอนเราเกษียณคือช่วงอายุ 55 ปีขึ้นไป อ่านมาถึงตรงนี้ เชื่อว่าหลายคนน่าจะเริ่มสนใจอยากซื้อประกันบำนาญกันบ้างแล้ว แต่อยากบอกเพิ่มเติมว่าประกันบำนาญไม่ได้เหมาะกับทุกคน เพราะถ้านำผลตอบแทนไปเทียบกับสิทธิประโยชน์ลดหย่อนภาษีตัวอื่นๆอย่างกองทุนรวมส่งเสริมการออม(SSF) หรือกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ(RMF) ที่ลงทุนในตราสารทุนนั้น SSF, RMFก็มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าประกันบำนาญ เพราะความเสี่ยงที่สูงกว่าย่อมมีโอกาสให้ผลตอบแทนที่มากขึ้นเป็นธรรมดาถูกม๊า (High Risk, High Expected Return)  ดังนั้น ถ้าเราเป็นคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้ การซื้อประกันบำนาญเพื่อลดหย่อนภาษีแบบเต็มสิทธิ อาจจะไม่ตอบโจทย์เราสักเท่าไหร่เพราะทำให้เราเสียโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นในระยะยาว แต่สำหรับใครที่รับความเสี่ยงได้น้อยหรือเหลือระยะเวลาในการลงทุนไม่มากประกันบำนาญก็จะตอบโจทย์กลุ่มคนเหล่านี้ได้ดี เพราะการันตีเงินที่ได้รับ มั่นใจว่าแก่ไปมีเงินใช้อย่างแน่นอนค่ะ  สำหรับใครที่สนใจประกันบำนาญเมย์อยากพาไปรู้จักกับประกันบำนาญที่ใช้ลดหย่อนภาษี 200,000…

  • ตรวจสุขภาพประจำปี กับดักของมนุษย์เงินเดือน

    ตรวจสุขภาพประจำปี กับดักของมนุษย์เงินเดือน

    หนึ่งในสวัสดิการที่มนุษย์เงินเดือนหลายๆท่าน นิยมชมชอบ คือ โปรแกรมตรวจร่างกายฟรี!! ที่บริษัทจัดให้เป็นประจำทุกๆปี ยิ่งถ้าพนักงานที่มีอายุงานกับบริษัทนานหน่อย ก็จะได้ตรวจโปรแกรมพิเศษเพิ่มไปอีก ทั้งการตรวจหาระดับสารบ่งชี้มะเร็งตับ, สารบ่งชี้มะเร็งลำไส้ บางที่มีอัลตร้าซาวน์ช่องท้องส่วนบนส่วนล่างด้วย(เอาให้ครบ) ฟังแบบนี้แล้วเชื่อว่าหลายๆน่าจะชอบ เพราะของฟรี ยิ่งตรวจเยอะยิ่งดีใช่มั้ยหล่า  แต่จะมีใครเคยคิดอีกมุมนึงบ้างมั้ยว่าแท้ที่จริงแล้ว นี่คือกับดักของมนุษย์เงินเดือนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ยังไม่มีประกันสุขภาพส่วนตัว (มีแค่ประกันกลุ่มของบริษัท) ที่บอกว่ามันเป็นกับดักก็เพราะ เวลาคนเราอายุมากขึ้น โอกาสเจ็บป่วยมันก็สูงขึ้นจริงมั้ย? หรือใครจะบอกว่าฉันยิ่งแก่ ยิ่งแข็งแรง วิ่งได้เร็ว ยกของได้หนักกว่า 10 ปีที่แล้วบ้าง คงไม่มี แล้วเราจะมั่นใจได้ยังไงว่าการตรวจร่างกายชุดใหญ่ของเราในวันนี้ จะไม่เจอแขกผู้มาเยือนรายใหม่ ไม่ว่าจะเป็นก้อนซีสที่มดลูก ก้อนไขมันที่หน้าอก หรือระดับสารบ่งชี้มะเร็งตับไตไส้พุง etc.  แม้บางครั้งหมอจะบอกว่ามันไม่ได้เป็นอะไร แต่สิ่งที่ตรวจเจอนี้จะกลายเป็น “ประวัติสุขภาพ” โชว์หราในบันทึกตรวจร่างกายประจำปีของเราอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และถ้าวันใดวันหนึ่งเกิดเราลาออกจากบริษัทนี้ อยากจะทำประกันสุขภาพของตัวเอง ถึงวันนั้นบริษัทประกันอาจไม่รับพิจารณาให้ความคุ้มครองสุขภาพกับเราเลยก็เป็นได้ เพราะประกันสุขภาพ แค่มีเงินอย่างเดียวซื้อไม่ได้ แต่ต้องมีประวัติสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ดีไปประกอบการพิจารณาทำประกันด้วย แต่ถ้าโชคร้ายไปป่วยส่วนไหนมาก่อน ก็จะโดนงดเว้นความคุ้มครองส่วนนั้นและอวัยวะสืบเนื่องไปตามระเบียบ ดังนั้น ก่อนตรวจสุขภาพประจำปีครั้งต่อไป ถ้าไม่มั่นใจว่าจะไม่จ๊ะเอ๋กับโรคใหม่ๆในร่างกายทำประกันสุขภาพส่วนตัวกันก่อนเถอะค่ะ จะได้ไม่ต้องมาบอกว่า “รู้งี้ทำประกันไว้ก่อนดีกว่า”  ด้วยความปรารถนาดีจาก แอร์หมวยขี้งก : )

  • ชำแหละ!! ยูนิตลิงค์ดีจริงหรอ

    ชำแหละ!! ยูนิตลิงค์ดีจริงหรอ

    ยูนิตลิงค์ดีจริงหรอ ยูนิตลิงค์เหมาะกับใคร

  • ทำความรู้จักกับ UNIT-LINKED

    ทำความรู้จักกับ UNIT-LINKED

    Unit-Linked คืออะไร นาทีนี้ถ้าพูดถึง ยูนิตลิงค์(Unit-Linked) เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง แต่อาจมีเพียงไม่กี่คนที่เข้าใจอย่างแท้จริงว่ายูนิตลิงค์คืออะไร วันนี้แอดมีคำตอบแบบเข้าใจง่ายๆมาฝากกันค่ะ ยูนิตลิงค์ เป็นประกันชีวิตรูปแบบใหม่ที่ให้ความคุ้มครองชีวิตสูงกว่าประกันชีวิตแบบดั้งเดิม มีชื่อเรียกแบบทางการๆหน่อยว่า ประกันชีวิตควบการลงทุน ซึ่งเจ้ายูนิตลิงค์นี้จะแตกต่างจากประกันชีวิตแบบเก่าในส่วนของความคุ้มครองชีวิตที่สูงกว่าและยังเพิ่มโอกาสในการได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการลงทุนผ่านกองทุนรวม นั่นเอง มาทำความรู้จักกับโครงสร้างเบี้ยประกันภัยกันก่อน ก่อนที่เราจะไปทำความรู้จักกับยูนิตลิงค์กันต่อ อยากพาทุกคนมาทำความเข้าใจกับภาพใหญ่ของโครงสร้างเบี้ยประกันภัยก่อนค่ะ  แรกเริ่มเดิมทีผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตแบบดั้งเดิมนั้น เวลาที่เราจ่ายเบี้ยไปแต่ละปี เบี้ยประกันจะถูกจัดสรรออกเป็น 3 ส่วน คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท พวกค่าคอมมิชชั่น ค่าบริหารจัดการต่างๆ ค่าการประกันภัย เป็นเงินที่บริษัทนำไปบริหารความเสี่ยงสำหรับการจ่ายเงินคืนให้กับผู้เอาประกันในกรณีที่ผู้เอาประกันเสียชีวิต (ค่าความคุ้มครองชีวิต) เงินลงทุน บริษัทเอาไปลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนที่เป็นทั้งรายได้ให้บริษัทและเป็นเงินคืนให้ผู้เอาประกัน เงินจะถูกจัดสรรไปในข้อ 2 หรือ ข้อ 3 เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับแบบประกันที่เราเลือกซื้อ (ถ้าใครอยากรู้ว่าประกันชีวิตมีแบบไหนบ้างตามไปอ่านได้ที่ ประกันชีวิต คำง่ายๆแต่ความหมายสุดลึกล้ำ) ถ้าเราให้น้ำหนักไปที่ความคุ้มครองชีวิตอย่างประกันชีวิตแบบตลอดชีพ เงินจะถูกจัดสรรไปที่ค่าการประกันเยอะหน่อย สัดส่วนที่เอาไปลงทุนจึงน้อยลงเลยทำให้ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ ให้ผลตอบแทนที่ไม่สูงนักเมื่อครบกำหนดสัญญา ในทางกลับกัน สำหรับประกันแบบสะสมทรัพย์ เงินจะถูกจัดสรรไปที่ส่วนของเงินลงทุนเยอะหน่อย ทำให้ทุนชีวิตที่เรามีจากประกันแบบสะสมทรัพย์นั้นไม่สูงเท่าทุนชีวิตจากประกันชีวิตแบบตลอดชีพ แต่ข้อดีคือประกันแบบสะสมทรัพย์นั้นจะมีผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดสัญญามากขึ้นแทน สาเหตุที่ผลตอบแทนเมื่อครบกำหนดสัญญาจากประกันชีวิตแบบต่างๆไม่สูงมากนัก เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ทางการเงินตัวอื่นๆ เพราะบริษัทประกันถูกกำหนดให้ต้องลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสมกับภาระผูกพันที่มีอยู่ จึงไม่สามารถลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงได้  แต่เราไม่สามารถเปรียบเทียบแค่เรื่องของผลตอบแทนได้เพียงอย่างเดียว ผลิตภัณฑ์ทางการเงินแต่ละตัวช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่แตกต่างกัน ต้องเข้าใจก่อนว่าวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของประกันชีวิตไม่ใช่ผลตอบแทนแต่มันคือการสร้างความคุ้มครองชีวิตให้กับคนข้างหลัง…

  • เป็นเบาหวานทำประกันสุขภาพได้มั้ย

    เป็นเบาหวานทำประกันสุขภาพได้มั้ย

    ขึ้นชื่อว่าความเจ็บป่วยไม่ว่าจะด้วยโรคอะไรก็ตาม คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง บางโรคถ้าโชคดีสามารถรักษาให้หายขาดได้แต่ถ้าโชคร้ายเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง สิ่งที่ทำได้อาจเพียงแค่การรักษาตามอาการ เท่านั้นและหนึ่งในโรคยอดฮิตของคนไทยที่เข้าข่ายโรคเรื้อรังดังกล่าว คือ โรคเบาหวาน นั่นเอง ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคเบาหวานกันซักหน่อย โรคเบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูง เนื่องการทำงานที่ผิดปกติของฮอร์โมนที่มีชื่อว่าอินซูลิน ร่างกายจึงไม่สามารถเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้มีน้ำตาลเหลืออยู่ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ หากเกิดขึ้นต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้อวัยวะเสื่อม ทำงานล้มเหลวหรือเกิดโรคแทรกซ้อนตามมาได้ แล้วถ้าเราเป็นเบาหวาน เราจะยังทำประกันสุขภาพได้อยู่มั้ย เบื้องต้นต้องเข้าใจหลักเกณฑ์ในการรับประกันก่อนว่า บริษัทประกันจะไม่คุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อน(Pre-existing Condition) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าถ้าเราป่วยด้วยโรคอะไรก็ตามบริษัทจะไม่รับประกันเลย หากโรคที่เราเป็นอยู่นั้นไม่จัดเป็นโรคร้ายแรงเรื้อรัง เราสามารถลองยื่นขอทำประกันสุขภาพได้ ซึ่งบริษัทจะเสนอเงื่อนไขมาให้ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้ รับประกัน แต่ งดเว้นความคุ้มครองโรคที่เป็นมาก่อนและโรคที่มีความเกี่ยวเนื่อง เพิ่มเบี้ยประกัน เนื่องจากเรามีความเสี่ยงในการเจ็บป่วยมากกว่าคนปกติ ข้อ 1 และ ข้อ 2 รวมกัน ไม่รับประกันเลย  แต่สำหรับโรคเบาหวานนั้น ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะมีโรคแทรกซ้อนอื่นๆ ตามมาได้ในภายหลัง เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะเบาหวานลงไต ดังนั้น บริษัทประกันส่วนใหญ่จึงไม่รับทำประกันสุขภาพให้กับผู้ป่วยเบาหวานค่ะ ทั้งหมดทั้งมวลนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการพิจารณารับประกันของแต่ละบริษัทด้วย ถ้ามีตัวแทนประกันที่รู้ใจสามารถให้ลองช่วยยื่นคำร้องขอทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันดูได้ค่ะ เราอาจจะโชคดีได้รับความคุ้มครองแบบมีเงื่อนไขข้อใดข้อหนึ่งก็ได้ อ่านมีถึงตรงนี้แล้ว เชื่อว่าหลายคนน่าจะเริ่มเข้าใจแล้วว่า ช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการทำประกันสุขภาพ คือ…

  • คู่รักไม่ได้จดทะเบียนสมรสทำประกันชีวิตให้กันได้มั้ย

    คู่รักไม่ได้จดทะเบียนสมรสทำประกันชีวิตให้กันได้มั้ย

    รูปแบบการใช้ชีวิตคู่ในสังคมปัจจุบัน มีความหลากหลายมากขึ้น หลายคู่สร้างครอบครัวร่วมกันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือบางคู่อาจเป็นคู่รักเพศเดียวกันก็มีมากมาย เมื่อใช้ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุขกันเป็นระยะเวลานาน หลายคู่เริ่มอยากสร้างความมั่นคงให้กับคู่ของตนด้วยการทำทุนประกันชีวิตให้แก่กัน เพราะถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นคงไม่มีใครอยากทิ้งคู่ของตนให้ลำบากอยู่เพียงลำพัง จึงเป็นที่มาของหนึ่งในคำถามยอดฮิตที่ว่า “คู่รักไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สามารถทำประกันชีวิตแล้วยกผลประโยชน์ให้กันได้หรือไม่” ถ้าลองมาดูตามกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับกรมธรรม์ประกันชีวิต อย่างประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 862 นั้น พบว่า กฎหมายไม่ได้บังคับว่าผู้รับประโยชน์จะต้องเป็นบุคคลซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับผู้เอาประกันภัย จึงเป็นสิทธิของผู้เอาประกันภัยว่าจะระบุให้บุคคลใดเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันชีวิตก็ได้  นั่นหมายความว่า เราจะยกผลประโยชน์จากกรมธรรม์ประกันชีวิตให้กับใครก็ได้ แต่ช้าก่อน ในทางปฏิบัตินั้น หนึ่งในเงื่อนไขสำคัญที่บริษัทผู้รับประกันภัยจะรับพิจารณา คือ ผู้รับประโยชน์ต้องเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เอาประกันภัยเสมอ  หลายคนอาจจะคิดว่า ส่วนได้เสียกัน อื่มมม แบบนี้เข้าเงื่อนไขแล้วสิ ยั๊งง คนละได้เสียค่ะ 555555 คำว่าผู้มีส่วนได้เสียในที่นี้ หมายถึง คนที่ได้รับประโยชน์จากการมีชีวิตอยู่ของผู้เอาประกันภัย และเสียประโยชน์จากการจากไปของผู้เอาประกันภัยเช่นกัน ยกตัวอย่าง เช่น ความสัมพันธ์พ่อแม่ลูก ในช่วงเวลาที่ลูกยังเด็กนั้น ยังคงต้องพึ่งพาการดูแลทางด้านการเงินจากพ่อแม่อยู่ ถ้าพ่อแม่จากไปในขณะที่ลูกยังไม่สามารถดูแลตัวเองได้ ลูกย่อมมีส่วนได้เสียในการจากไปครั้งนี้อย่างแน่นอน ดังนั้น พ่อแม่สามารถทำประกันชีวิตแล้วยกผลประโยชน์เป็นทุนประกันชีวิตให้กับลูกได้ หรือจะเป็นความสัมพันธ์แบบสามีภรรยาก็ใช้หลักคิดแบบเดียวกัน  เหตุผลที่บริษัทประกันกำหนดเงื่อนไขข้อนี้ขึ้นมา ก็เพื่อปกป้องผู้เอาประกันภัย เพราะถ้าเราสามารถยกผลประโยชน์จากการเสียชีวิตของเราให้ใครก็ได้นั้น อาจมีมิจฉาชีพบางกลุ่มใช้ช่องว่างตรงนี้หลอกให้คนทำประกันชีวิตแล้วยกผลประโยชน์ให้แก่ตัวเอง หลังจากนั้นก็ทำร้ายบุคคลดังกล่าวให้ถึงแก่ความตายเพื่อรับเงินเอาประกันก็เป็นได้ การกำหนดว่าผู้รับผลประโยชน์ต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียจึงช่วยตัดปัญหาการทำประกันชีวิตเพื่อหวังฆาตกรรมเอาเงินประกันชีวิต เพราะคงไม่มีใครอยากให้คนที่มีส่วนได้เสียในชีวิตจากไปเพียงเพื่อหวังจะเอาเงินประกันถูกมั้ยคะ สำหรับการพิจาณาผู้มีส่วนได้เสียของแต่ละบริษัทประกันนั้น ขึ้นอยู่กับนโนบายของแต่ละบริษัทอีกเช่นกัน แต่ในทางปฏิบัติที่ผ่านมา…